ติดตั้งแอร์ใหม่ ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการติดตั้ง

ติดตั้งแอร์ ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการติดตั้งแอร์ แบบ ชุดเต็ม

การ ติดตั้งแอร์ นอกจากความรู้ความเข้าใจทางด้านช่างที่สำคัญแล้วยังจะต้องรู้จักเลือกเครื่องมือให้ถูกต้องอีกด้วยว่าเครื่องมือไหนใช้กับงานอะไรเพราะถ้าใช้ผิดประเภทแล้วนอกจากเสียเวลา เสียวัตถุดิบแล้วยังอาจจะเกิดความเสียหายต่อตัวแอร์หรือระบบภายในแอร์อีกด้วย ซึ่งนั้นไม่คุ้มเลย

การ ติดตั้งแอร์ ต้องใช้เครื่องมืออะไร ควรจะเลือกเครื่องมือการติดตั้งแอร์ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเพื่อให้งานของเราสะดวก ราบรื่นและรวดเร็วในการติดตั้ง ในท้องตลาดบ้านเราเมืองไทยมีให้เลือกมากมายหลายแบบหลายยี่ห้อ ทั้งยี่ห้อในไทย และต่างประเทศเองวันนี้ทาง FLOW ENERGY ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือติดตั้งแอร์บ้านทั่วไป แบบเรียกกันว่าครบชุดพร้อมใช้งานเลยทีเดียว และยังเน้นความปลอดภัยเป็นหลักด้วยนะครับ  ส่วนในเรื่องของราคาอุปกรณ์ต่างๆ ในการใช้ติดตั้งแอร์ ก็สามารถเข้าไปเช็คที่เวปไซด์ได้เลยนะครับ เดี๋ยวผมจะลงไว้ให้ที่ด้านล่างสุดของบทความครับผม  

 

เครื่องมือช่างแอร์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการติดตั้งแอร์ใหม่ มีดังนี้

1.สว่านเจาะปูน  หรือ สว่านโรตารี่ สามระบบ

สว่านโรตารี่ MONO
สว่านโรตารี่ 3 ระบบ  MONO

สว่านเจาะปูนมีความสำคัญในการติดตั้งแอร์ใหม่หรือเก่าเป็นอย่างมากเนื่องจากเอาไว้ใช้เจาะกำแพงที่จะแขวนแอร์นั้นเอง ใช้เจาะเพื่อฝังพุ๊กพลาสติกและพุ๊กตะกั่วเพื่อยึดตัวแอร์ และยึดรางครอบท่อแอร์ ยึดเบรกเกอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งใช้ในการเจาะรูกำแพงสำหรับให้ท่อน้ำยาแอร์ออกไปภายนอกอาคารอีกด้วย  ซึ่งสว่านที่เลือกใช้ควรเป็นแบบ สามระบบ  หรือ แบบที่สามารถเจาะกระแทกได้ และ แย๊กปูนได้นั่นเองครับ ได้การใช้งานแต่ละระบบ จะใช้ดอกสว่านที่แตกต่างกันออกไปด้วยนะครับ

2. สว่านไขควงไร้สาย หรือไขควง หรือสว่านแบตเตอรี่

สว่านไร้สาย brushless Fd-2
สว่านไร้สาย brushless Fd-2

สว่านหรือสว่านไร้สาย  หรือ ไขควงธรรมดาก็มีความสำคัญในการติดตั้งแอร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยในการไขสกูรยึดแฟนคอยล์ได้อย่างรวดเร็ว นั่นเอง ไม่อย่างนั้นถ้าใช้ไขควงมาไขสกูรทีละตัว ก็คงทำได้ แต่คงจะเสียเวลากับการทำงานที่ไม่จำเป็นน่าดูเช่นกันครับ และยังมีประโยชน์อีกทางนึงคือสามารถใช้ในงานเจาะเหล็กหรือเจาะไม้ได้ด้วยนะครับ เรียกว่ามีตัวเดียวคุ้มสุดๆไปเลย

3. ระดับน้ำ

ระดับน้ำ Mono
ระดับน้ำ Mono

เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย ในการตั้งระดับของตัวแอร์ทั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิต  และรางครอบท่อต่างๆ  ถ้าไม่ใช่ระดับน้ำช่วยวัดความเที่ยงตรงในการติดตั้งแล้วนั้นหากตัวเครื่องแอร์ เกิดเอียงหรือไม่ได้ระดับขึ้นมา พอเวลาผ่านไปสักพัก จะทำให้เกิดปัญหากับเครื่องปรับอากาศได้อย่างมากมาย เช่นถ้าแฟนคอยล์เอียงก็จะทำให้มอเตอร์เอียงด้วย ซึ่งมอเตอร์เอียงจะทำให้เกิดการกินบูสต์มอเตอร์ ทำให้เกิดเสียงดังได้ในอนาคต

4. ตลับเมตร

ตลับเมตร

ซึ่งสำคัญที่สุดในการวัดระยะที่เหมาะสมของการติดตั้ง  ในทุกชิ้นส่วนของการติดตั้ง ตั้งแต่แฟนคอยล์ รางครอบท่อ เบรกเกอร์ ระยะขาวางคอนเดนซิ่ง  เครื่องมือตัวนี้ไม่มีละก็ ติดแอร์ได้สวยยากทีเดียว ในส่วนตลับเมตรก็มีให้เลือกมากมายหลายแบบแตกต่างกันไป ทั้งแบบ สายดึงวัดธรรมดา  แบบดิจิตอลอินฟาเรด  ก็อยู่ที่จริตของผู้ใช้นะครับ ว่าชอบแบบไหน

5.โฮลซอเจาะกำแพง

โฮลซอ เจาะปูน
โฮลซอ เจาะปูน

ตัวช่วยในการสอดท่อน้ำยาจากแฟนคอยล์ออกไปหาคอนเดนซิ่งนั้นเอง  ซึ่งไม่มีก็สามารถใช้สว่านค่อยๆเจาะไปก็ได้ แต่เสียเวลามากและก็อาจจะไม่ค่อยกลมสวยเหมือนใช้ โฮลซอ   และ ผนังฝั่งตรงข้ามที่เราเจาะ อาจจะระเบิดแตกเป็นรอยใหญ่ กว่าที่เราต้องการก็ได้ ทำให้งานยิ่งเสียเวลามากขึ้นไปอีก จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญควรพึงมีเป็นอย่างมากครับ

6.ชุดบานแฟลร์ หรือชุดบานท่อทองแดง

ชุดบานแฟลร์ท่อทองแดง
ชุดบานแฟลร์ท่อทองแดง

ตัวช่วยหลักของการติดตั้งแอร์เลยล่ะครับ สำหรับงานบานปลายท่อน้ำยา เพื่อใช้กับเซอร์วิสวาลว์ เพื่อต่อเข้ากับระบบระหว่างตัวนอกกับตัวในนั่นเอง เรียกว่าติดตั้งแอร์ทุกครั้ง ต้องใช้เจ้าตัวนี้ ตัวบานแฟลร์นี่ ทุกครั้งเลยละครับ เพราะจะต้องใช้บานปลายท่อทองแดง ทุกด้านที่ต่อเข้ากับตัวเครื่องทั้งคอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิตครับ

7.เบนเดอร์ดัดท่อ

เบนเดอร์ดัดท่อน้ำยาแอร์
เบนเดอร์ดัดท่อน้ำยาแอร์

ตามชื่อเรียกเลยครับ  สำหรับงานดัดท่อน้ำยาแอร์หรือท่อสารทำความเย็นของระบบ ให้มีความสวยงามเรียบร้อย มีตั้งแต่ขนาด 2 หุน ถึง 6 หุนนั่นเอง ทำให้เข้าโค้งงอได้สวยงาม ไม่บุบ บี้แบน   ถ้าท่อ ดัดด้วยมืออาจทำให้บุบ บี้แบน ไม่สวยงาม และยังส่งผลถึง ทางเดินของระบบน้ำยาได้ เพราะถ้าท่อน้ำยาบี้ อาจทำให้แอร์ไม่เย็นหรือทำความเย็นได้ไม่เต็มบีทียูได้นั่นเองครับ

8.แว๊คคั่มปั๊ม

แว๊คคั่มปั๊ม value
แว๊คคั่มปั๊ม value

สำหรับการทำสูญญากาศในระบบ  หรือดูดอากาศทั้งหมดออกจากระบบน้ำยานั่นเอง เป็นเครื่องมือที่สำคัญเป็นลำดับต้นๆ ของการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเลยนะครับ  ไม่มีก็สามารถติดตั้งแอร์เดินระบบได้ครับ แต่แอร์จะไม่เย็นสมบรูณ์ 100% ครับ  ฉะนั้นเราควรจะดึงอากาศออกจากระบบให้หมด เพื่อไม่ให้หลงเหลือความชื้นอยู่ในทางเดินของระบบน้ำยาครับ

9.เกจ์วัดน้ำยา

เกจ์วัดน้ำยาแอร์ FLOW
เกจ์วัดน้ำยาแอร์ FLOW คุณภาพดี

 

เกจ์วัดน้ำยาแอร์
เกจ์วัดน้ำยาแอร์​

ต้องใช้ในตอนที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศเสร็จแล้วทำการสตารท์เครื่องครั้งแรก เพื่อวัดดูแรงดันน้ำยาว่ามีความสมบรูณ์ของระบบดีหรือไม่  แรงดันหรือน้ำยามีเพียงพอตรงกันสเปคของเครื่องปรับอากาศหรือไม่ เครื่องมือที่ต้องมีติดไว้ทุกงานสำหรับงานเครื่องปรับอากาศ มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ทั้งแบบเข็มและดิจิตอล ทั้งแบบหัวเดียว และสองหัว  และเกจ์วัดแรงดันน้ำยาแอร์ยังแยกเป็นประเภทของน้ำยาด้วยนะครับ ต้องตรวจสอบหรือถามกับผู้ขายให้เรียบร้อยก่อนทำการซื้อนะครับ มิฉะนั้นจะได้หัวสายเกจ์ที่ไม่ตรงกับน้ำยาของแอร์ที่ท่านจะติดตั้งไปใช้ นะครับ

ควรเลือกใช้เกจ์วัดน้ำยาแอร์ที่มีคุณภาพดี มีความแม่นยำ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในงาน

 

10. คัตเตอร์ตัดท่อแดง

คัตเตอร์ตัดท่อทองแดง
คัตเตอร์ตัดท่อทองแดง

ตามชื่อเช่นกันครับ เอาไว้ตัดท่อทองแดง หรือท่อน้ำยาแอร์เวลาที่เดินท่อน้ำยา สำหรับเวลาที่ท่อน้ำยายาวเกินไป หรือ ตัดต่อเพื่อทำการเชื่อมท่อใหม่นั่นเองมีตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่มากเลยนะครับ  เลือกให้พอเหมาะพอดีกับงานที่ใช้นะครับ

 

11. รีมเมอร์ ลบคมท่อทองแดง

รีมเมอร์
รีมเมอร์
รีมเมอร์
รีมเมอร์ท่อทองแดงขนาดกลางและขนาดใหญ่

 

สำหรับลบคมปลายท่อทองแดง หลังจากตัดท่อทองแดงแล้ว เพราะทุกครั้งที่เราตัดท่อทองแดงมักจะมีเศษผงทองแดงที่ติดปลายท่อหลังจากการตัด หลงเหลืออยู่ด้วย ถ้าเศษเหล่านั้นเข้าไปในท่อน้ำยาแล้วไปตันระบบการฉีดน้ำยาอาจทำให้แอร์คุณเกิดปัญหาได้นั้นเอง

 

12. ชุดตอกบานท่อ ขยายท่อ

ชุดตอกบานขยายท่อ
ชุดตอกบานขยายท่อ

ไว้ขยายท่อทองแดงหรือท่อน้ำยาแอร์เวลาที่ต้องการต่อเชื่อมท่อ ระหว่างท่อด้วยกัน  โดยการใช้ตัวจับหรือที่เรียกกันว่า รางของตัวบานแฟลร์​แล้ว ตอกตัวนี้เข้าไปในท่อทองแดงครับ ท่อทองแดงจะทำการขยายตัวออก ให้เราเสียบท่อทองแดงอีกเส้นนึง สอดเข้าไปด้านในของท่อทองแดงที่บานได้ครับ

 

 

13.ประแจทอร์ค หรือ ประแจเลื่อน

ประแจเลื่อน
ประแจเลื่อนทั่วไป
ประแจทอร์คงานแอร์
ประแจทอร์คงานแอร์หรือประแจตั้งแรงบิดสำเร็จ

 

สำหรับการไขแฟลร์นัทเพื่อประกอบท่อน้ำยาเข้าระบบให้สมบรูณ์ ระหว่างท่อน้ำยากับเครื่องแอร์นั่นเอง ด้านนอก จะเอาไว้ขันแฟลร์ก้บเซอร์วิสวาลว์
ประแจทอร์ค คือ ประแจขันที่กำหนดค่าปอนด์ในการขันเอาไว้แล้วไม่ต้องเสียงกะขันเวลาเข้ามากไปหรือน้อยไป ถ้าขันแรงมากไป แฟลร์อาจแตกได้ ถ้าขันเบาไปก็อาจจะรั่วได้    แต่ถ้าใช้ประแจเลื่อนธรรมดา ก็กะเอาด้วยความตึงมือและความชำนาญของช่างแต่ละท่านครับ

 

14.ไมครอนเกจ์

ไมครอนเกจ์
ไมครอนเกจ์

เพิ่งจะนิยมใช้กันในประเทศไทย แต่ยังไม่กว้างขวางมากนัก  แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญคู่กับเครื่องแว๊คคั่มเลยละครับ ประโยชน์ของไมครอนเกจ์คือ เอาไว้วัดค่าอากาศคงเหลือด้านในระบบที่ดูดออกมาว่าเหลือกี่ไมครอนแล้ว ซึ่งประโยชน์ที่ได้มาอีกทางก็คือ ด้วยความละเอียดมากของเจ้าเครื่องนี้  เวลาระบบรั่ว จะรู้ได้เร็วมาก เพราะตัวเลขที่เกจ์จะไม่คงที่ ตัวเลขเพิ่มขึ้นช้าหรือเร็วอยู่ที่รอยรั่วที่มีในระบบครับ

 

15.คีมปากใหญ่ ปอกสายไฟ ปากเล็ก ปากจิ้งจก สารพัดคีม

คีมต่างๆ
คีมต่างๆ

เอาไว้ตัดสายไฟ ตัดสารพัด งานจิปาถะต่างๆ เลือกใช้กันตามอัธยาศัย หรือแล้วแต่ประเภทของงานครับ

 

16. หกเหลี่ยม

หกเหลี่ยมเปิดวาลว์บริการ
หกเหลี่ยมเปิดวาลว์บริการ

 

สำหรับเปิดวาวล์บริการเผื่อปล่อยน้ำยาที่ล็อกไว้จากคอมเพรสเซอร์ให้ออกมาที่ท่อน้ำยาแอร์ เผื่อวนกลับไปเข้าคอมเพรสเซอร์อีกด้านให้ครบระบบ ใช้กันเยอะที่สุดคือ ขนาด 4mm และ ขนาด 6 mm และยังเผื่อไว้ถอดน๊อตในโบลเวอร์ ที่ยอยที่ต่อกับแกนมอเตอร์ได้ด้วยนะครับ   สำหรับงานซ่อมแซม

 

17.ชุดเชื่อมสนามพร้อมอุปกรณ์

ชุดเชื่อมสนามใหญ่
ชุดเชื่อมสนามใหญ่ ชุดเชื่อมท่อน้ำยาแอร์

สำหรับต่อเชื่อมท่อทองแดงหรือท่อน้ำยาแอร์ เชื่อมท่อเข้าระบบ มีทั้งชุดเล็กและชุดใหญ่ และมีทั้งใช้ กับอ๊อกซิเจน และ แก๊ส LPG   หรือใช้กับ อะแซทีลีน  ครับชุดแบบในรูปเป็นชุดสำเร็จทำขายตามท้องตลาดหรือร้านอะไหล่แอร์ทั่วไป   หาซื้อกันได้ ไม่ยาก  ร้านฮาร์ดแวร์ หลายๆร้านก็มีขายครับ

 

18.ยูเนี่ยน และ แฟลร์นัท

ยูเนี่ยนทองเหลือง
ยูเนี่ยนทองเหลือง
แฟลร์นัททองเหลืองงานแอร์
แฟลร์นัททองเหลืองงานแอร์

จริงๆน่าจะเรียกว่าเป็นอุปกรณ์อะไหล่มากกว่า เครื่องมือติดตั้งแอร์นะครับ แต่ด้วยความที่มันมีความจำเป็นในยามฉุกเฉินอย่างมาก ผมเลยเอามาใส่ผสมลงไปด้วยครับ   หลายครั้งเวลาที่เราอยู่หน้างานเกิดปัญหาใหญ่ กับชุดเชื่อมสนามของเรา ขณะติดตั้งแอร์ ได้เสมอเช่นแก๊สหมด อ๊อกซิเจนหมด ลมหมด สายเชื่อมแตก หัวเชื่อมพังหรือ อะไรก็ตามที่ไม่สามารถทำให้เราจบงานได้  มันลำบากมากเลยครับ  แต่ยูเนี่ยน และแฟลร์นัทช่วยท่านได้มากเลยครับ จับบานแฟลร์ ท่อทั้งสองด้านและต่อกลางด้วยยูเนี่ยน ทุกอย่างก็สามารถผ่านไปได้ และจบงานได้อย่างไม่ยากเย็นครับผม

 

19. ปูนต่างๆ หรือ ซีลีโคน

ซีลิโคน
ซีลิโคน

สำหรับงานอุดรูกำแพง รูฝ้า รูต่างๆ หลังจากงานเจาะเสร็จแล้ว เก็บหน้างานให้ดูสวยงาม สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย

20. ตัววัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด หรือแบบเซ็นเซอร์

ตัววัดอุณหภูมิ
ตัววัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด

เอาไว้วัดเวลาเครื่องติดตั้งแล้วมีปัญหาหรือไม่มีปัญหาก็ตาม เช่นวัดส่งงานให้ลูกค้า วัดหน้าคอยล์เย็นได้สเปคมั้ย  วัดดูว่าเครื่องมีปัญหามั้ยเติมน้ำยาพอรึป่าว
แบบอินฟาเรดก็เป็นที่นิยมมากเพราะใช้งานง่าย  แต่ความแม่นยำอาจไม่เท่ากับแบบหางเซ็นเซอร์ ที่ไปจ่อหน้าคอยล์ส่งลม  จะมีค่าความแม่นยำที่เที่ยงตรงกว่า

21. กรรไกรตัดรางครอบท่อสำหรับติดตั้งแอร์ใหม่

กรรไกรตัดรางครอบท่อ
กรรไกรตัดรางครอบท่อ

สะดวกรวดเร็ว ตามชื่อเลยครับ ไม่ต้องใช้กรรไกรตัดสังกะสี และ ใบเลื่อย หรือลูกหมู ในการตัดรางครอบท่อครับ ตัดครั้งเดียว เอาอยู่เรียบร้อยสวยงาม รวดเร็วครับ ราคาไม่แพง

22.ไขควงเช็คไฟ

ไขควงเช็คไฟ อุปกรณ์ล้างแอร์
ไขควงเช็คไฟ อุปกรณ์ล้างแอร์

อุปกรณ์สารพัดประโยชน์ แคะ แกะ ไข สารพัด ควรมีติดตัวตลอดเวลา และ ประโยชน์ของเจ้าไขควงเช็คไฟจริงๆก็คือ เอาไว้เช็คไฟนั่นเอง ในทุกๆครั้งที่เราต้องทำงานกับระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะแน่ใจหรือไม่แน่ใจ ควรวัดไฟให้เคยชินเป็นนิสัยทุกครั้งนะครับ

23.คลิปแอมป์ และมัลติมิเตอร์

คลิปแอมป์มิเตอร์
คลิปแอมป์มิเตอร์

อย่าเพียงแต่คิดว่าติดตั้งแอร์แล้วดูแต่แรงดันของน้ำยาก็เพียงพอนะครับ กระแสไฟฟ้า แรงดัน  เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบคู่กับแรงดันน้ำยาเสมอ เพราะเป็นตัวช่วยบอกทุกอย่างว่าเครื่องทำงานได้ปรกติดีรึป่าว  ต้องคลิปทุกครั้งพร้อมกับที่วัดน้ำยาแอร์เลยนะครับ

 

24.บันไดสำหรับเครื่องมือติดตั้งแอร์ใหม่

บันได
บันได

สะดวกในการทำงานที่สูง และถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกแบบที่เป็นบันไดไม่ใช่อะลูมิเนียมหรือเหล็กนะครับ  เลือกใช้แบบไฟเบอร์ได้ก็จะช่วยให้ท่านทำงานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นนะครับ ที่สำคัญบันไดไฟเบอร์แข็งแรงมากด้วยนะครับ

25.ผ้าคลุมป้องกันสกปรก

ผ้าใบคลุมกันสกปรก
ผ้าใบคลุมกันสกปรก

คลุมเฟอร์นิเจอร์ ตุ้ เตียงทีวี ต่างๆ ในบ้านลูกค้า  เวลาติดตั้งเครื่องปรับอากาศอาจมีฝุ่นหรือสกปรกได้  สิ่งที่ลูกค้าจะได้จากทีมช่างติดตั้งคือ ความเอาใจใส่ต่อหน้างาน  ถ้ามีผ้าไปคลุมหน้างานให้ลูกค้าเรียบร้อยแบบนี้ ลูกค้าคงประทับใจไม่น้อยครับผม

26.เครื่องมือทำความสะอาดต่างๆ เช่นเครื่องดูดฝุ่น ไม้กวาด ผ้าสำหรับเช็ด

ไม้กวาด

ติดตั้งเสร็จแล้วหรือในระหว่างติดตั้งก็จะได้ใช้ทำความสะอาดไปด้วยนั้นเอง  มืออาชีพทำกับแบบนี้ครับ  รักษาความสะอาดหน้างานเสมอ

27.อุปกรณ์ช่วยยกเครื่อง แบบต่างๆ ลิฟท์ไฟฟ้า ลิฟท์มือหมุน รอกไฟฟ้า รอกธรรมดา

ลิฟท์ยกแอร์
ลิฟท์ยกแอร์

ถ้าพอมีงบประมาณ  ก็ลองเลือกดูครับมีหลายแบบเลย ทั้ง แบบใช้มือหมุน ไฮดรอลิค ไฟฟ้า  มันช่วยทุ่นแรงของช่าง และยังช่วยเรื่องความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ได้เป็นอย่างมากเลยนะครับ ที่สำคัญงานเร็ว งานเนี้ยบ ใช้คนน้อยลงด้วยนะครับ

28.เชือก

เชือก

เครื่องมือสารพัดประโยชน์ ยามฉุกเฉิน ไม่ขอกล่าวถึง ทุกท่านทราบดี

29. อุปกรณ์ เชฟตี้ต่างๆ กันตก  ล็อกเบรกเกอร์


สำหรับบางท่านที่คุ้นเคยกับงานในโรงงานก็คงจะเคยเห็นกันอยู่แล้วนะครับ   ล็อกเบรกเกอร์หรือสวิทซ์ไว้ ทำงานสบายใจกว่ากันเยอะเลยครับผม

30.เกจ์ไนโตรเจน – ถังไนโตรเจน

 

เกจไนโตรเจน
เกจไนโตรเจน
ถังไนโตรเจน
ถังไนโตรเจน

ซึ่งสำคัญในการตรวจเช็คระบบว่ามีรอยรั่วหรือไม่  ไม่ควรเช็คที่อ๊อกซิเจน  ตรวจเช็ครั่วนะครับ ระเบิดกันมาเยอะมากๆเลย  ควรใช้ไนโตรเจนเช็ครั่วและควรใช้ คู่กับเรกกูเรเตอร์นะครับ ใช้ให้ถูกประเภทนะครับ ไม่ควรใช้เกจ์วัดน้ำยาไปแทนเรกกูเรเตอร์นะครับผม   มันไม่มีระบบบายพาสแก๊สนะครับ แล้วมันก็ออกแบบมาไม่ได้แข็งแรงเท่ากับ เรกกูเรเตอร์ของไนโตรเจนด้วยนะครับ  อย่าเสี่ยงในสิ่งที่ไม่คุ้มเสี่ยงเลยครับ

 

31. ตราชั่งเติมน้ำยาแอร์

ตราชั่งเติมน้ำยา กิโลดิจิตอล
ตราชั่งเติมน้ำยา กิโลดิจิตอล

แอร์ยุคใหม่ น้ำยาR410a และน้ำยา R32 และแอร์ระบบอินเวอเตอร์  ต้องชั่งน้ำยาเติมให้ได้พอดีกับ สเปคที่ทางโรงงานได้ระบุมาให้นะครับ ถ้าต่อท่อน้ำยายาวเพิ่มเติมเท่าไหร่ก็ต้องคำนวญปริมาณน้ำยาให้ตรงกับสเปคตามโรงงานที่กำหนดให้มาเท่านั้น  เราจึงจำเป็นต้องใช้ตราชั่งเติมน้ำยาจึงจะได้ความแม่นยำที่สุด เพื่อให้ได้ความเย็นที่เต็มประสิทธิภาพ

32. ถังดับเพลิง

ถังดับเพลิง
ถังดับเพลิง

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย อันดับ 1 เพราะช่างแอร์เป็นงานที่เกียวข้องกับไฟ ทั้งงานเชื่อมท่อ และงานไฟฟ้า   จึงเป็นเครื่องมือที่ควรจะมีติดไว้ในการทำงานทุกครั้ง หลายครั้งเจ้าถังดับเพลิงนี้ช่วยให้เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็กไปได้เลยนะครับ

อย่างไรก็ตามสุดท้ายนี้ ในฐานะที่ผู้เขียนก็เป็นช่างแอร์คนหนึ่ง ซึ่งเคยละเลย การปลอดภัยไว้ก่อน แล้วเกือบตายมาก็หลายรอบแล้วเพราะความประมาท ก็อยากจะให้เพื่อนช่างคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานเสมอนะครับ ขึ้นที่สูงใส่เชฟตี้ ทำงานกับไฟฟ้า  เช็คให้ชัวร์ทุกครั้ง เช็คแลมป์ มิเตอร์พกติดตัว เช็คแล้วไม่ชัวร์เช็คอีก อย่าทำงานด้วยความไม่แน่ใจ  พึงนึกถึงคนที่อยู่ข้างๆเรารักและเป็นห่วงเรานะครับ  งานที่เราทำไม่มีความจำเป็นต้องเสี่ยงเลยครับ ทุกอย่างทำให้ปลอดภัยมากที่สุดได้ครับ

ทำงานกลับบ้านปลอดภัยด้วยกันทุกวันนะครับ 

ราคาเครื่องมือติดตั้งของช่างแอร์ คลิ๊กที่นี่

 

เทคนิคการล้างแอร์ด้วยตัวเอง