เกจวัดน้ำยาแอร์ R32 R410a ใช้ร่วมกับ R22 ได้มั้ย
เนื่องจากในปัจจุบันแอร์บ้านได้เปลี่ยนน้ำยาแอร์ จากเบอร์ R22 ไปเป็น R32 และ R410a เพราะว่า น้ำยา R22 นั้นทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศโลก จึงมีการเปลี่ยนไปใช้ เป็นน้ำยาแบบไม่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ หรือที่เรียกกันว่าน้ำยาแบบ HFC นั่นเอง
HFC (Hydrofluorocarbon) คือ สาร HFC จัดเป็นสารทำความเย็นที่ไม่ทำลายชั้นโอโซน แต่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก
ทำให้ เกจวัดน้ำยาแอร์ เริ่มมีการเปลี่ยนให้ตัววัดค่าแรงดัน มีค่า สูงขึ้น เนื่องจากน้ำยา R410 และ R32 มีแรงดันน้ำยาที่สูงกว่า R22 ค่อนข้างเยอะ
ดูตรงไหนว่า เกจ์ตัวไหนคือ เกจ์วัดน้ำยาแอร์ สำหรับ R32 R410 และเกจ์อันไหน สำหรับ R22 และ R134
สังเกตได้ง่ายๆ หลายอย่าง เกจวัดน้ำยาแอร์
ถ้าเป็น เกจน้ำยาแอร์ สำหรับ R410 หรือ R32
จะสามารถดูที่ตัวเกจ์ได้เลยทันที ส่วนใหญ่ จะมีระบุ บนหน้าปัดอยู่แล้ว
ดูแรงดันที่ เป็น PSI หรือ BAR ว่ามี เท่าไหร่
ดูอแดปเตอร์ที่ติดมากับ ตัวเกจ์ และสายที่ติดมากับตัวเกจ์ สายฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน จะเป็นขนาด 5/16 หรือ 2หุนครึ่งนั่นเอง
แต่ถ้าเป็น เกจวัดน้ำยาแอร์ สำหรับ วัดน้ำยา R22
ดูอแดปเตอร์ที่ติดมากับ ตัวเกจ์ และสายที่ติดมากับตัวเกจ์ สายฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน จะเป็นขนาด 1/4 หรือขนาด 2 หุน
หน้าปัดแรงดันฝั่ง HI จะอยู่ ไม่เกิน 500 PSI
หน้าปัดแรงดันฝั่ง LOW จะอยู่ที่ 120 PSIเกจ์วัดแรงดันน้ำยา ทำหน้าที่หลักของมัน คือเอาไว้วัดแรงดันน้ำยา มีค่าเป็น Psi หรือ BAR
ฉะนั้นเกจ์น้ำยานั้นสามารถใช้ร่วมกันได้หมด เพราะว่าใช้แค่วัดแรงดันเท่านั้นเองแต่ ถ้าเราเกจ์วัดน้ำยาแอร์ที่ใช้ กับ R22 ไปวัด กับ R410 หรือ R32 นั้นก็จะเกิดปัญหา คือเกจ์อาจจะพังหรือเกิดความเสียหายกับตัวเกจ์วัดน้ำยาได้
เพราะแรงดันที่วัดนั้นสูงเกินค่าเกจ์ ที่มีให้อยู่บนหน้าปัดแต่ถ้าสลับกัน ถ้าเอาเกจ์ ที่ใช้ R410a หรือ R32 ไปวัด แรงดันของน้ำยา R22 นั้นจะไม่เกิดปัญหาใดๆ เพราะแรงดันของน้ำยา R22 นั้นมีน้อยกว่า ไม่สร้างความเสียหายใดๆ ให้กับตัวเกจ์แต่ที่ส่วนใหญ่เค้าไม่นิยมหรือแนะนำให้ใช้กันเนื่องจากว่า อาจจะมีน้ำคอมเพรสเซอร์เข้าไปปะปนในระบบค้างอยู่ในสายที่เราใช้งาน เมื่อน้ำมันคอมเพรสเซอร์ปะปนกัน เช่น น้ำมันคอม ของน้ำยา R22 เค้าไปปนกับ น้ำมันคอม ของน้ำยา R410a หรือ R32 ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อคอมเพรสเซอร์ได้อย่างแน่นอน
เพราะฉะนั้น ถ้าจะใช้เกจ์ร่วมกัน ใช้ได้แน่นอนครับ เพราะแค่วัดแรงดัน แต่อยากให้ เอาน้ำยาตัวที่วัด เปิดไว้ไล่ทำความสะอาดสายที่ใช้งานหรือตัวเกจ์สักรอบนึงก่อน เพื่อไล่สิ่งตกค้างสกปรกหรือน้ำมันเก่า ที่ติดมาด้วยออกไปก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยใช้งาน ก็จะไม่เกิดปัญหาใดๆ ครับผมแต่ถ้าแยกได้ก็จะดีกว่านะครับ เพราะคิดว่าในหลายๆครั้งเวลาที่อยู่หน้างานเราก็คงไม่ได้แบกถังน้ำยามาด้วยหรือเอาไนโตรเจนมานั่งไล่ทำความสะอาดสายก่อนวัดแรงดัน จริงมั้ยครับ
เกจ์วัดแรงดันน้ำยาแอร์ FLOW รุ่น AC/PRO เกรดรุ่นมือโปร ในราคาย่อมเยาว์ ใช้งานได้ครบทุกน้ำยามาพร้อมหัวแปลงอแดปเตอร์ทองเหลืองอย่างดี
เทคนิคการล้างแอร์ด้วยตัวเอง