ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD RCD หรือ RCBO ของ FLOW ENERGY

ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD  RCD หรือ RCBO

ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD
ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD

ปลั๊กพ่วงต่อกันไฟดูด  ที่จะช่วยให้คุณปลอดภัย ไม่มีอันตรายบาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต

ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD
ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD

ปลั๊กตัดไฟโดยไม่มีกราวด์
ปลั๊กตัดไฟโดยไม่มีสายดิน

หลายๆครั้งมาแล้วที่เราเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงไฟรั่ว ดูดผู้ใช้บาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต  แต่พอวันเวลาผ่านไปเราก็มักจะหลงลืม ความอันตรายถึงแก่ชีวิตเหล่านี้จนหมดสิ้น จนลืมไปว่าอันตรายอยู่รอบตัวเราเต็มไปหมด ไม่ใช่แค่ตัวเราเพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมถึงครอบครัวของเรา เพื่อนฝูงหรือคนในบ้านที่เรารักด้วย  ทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้

การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านานๆ ไปย่อมมีการเสื่อมสภาพของเครื่องไปตามกาลเวลาเป็นธรรมดา อาจจะเกิดจากได้หลายสาเหตุ เช่น ฉนวนเกิดค่าความเสื่อมที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้แต่การกระแทกเครื่องใช้ไฟฟ้า การลัดวงจรของเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง หรือการลัดวงจรภายในบ้าน  เป็นไปได้หมด  เราจึงไม่ควรชะล่าใจหรือวางใจเด็ดขาดเนื่องจากอันตรายสูงสุด คือถึงขั้นเสียชีวิตได้ในทันที

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  ย่อมมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกมาจากตัวอุปกรณ์และไหลสู่ร่างกายของมนุษย์ได้เสมอ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายกับร่างการยได้บ้างครั้งถึงขั้นเสียชีวิตกันเลยทีเดียว เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจ และมีวิธีการป้องกันไม่ให้เรามีอันตรายถึงชีวิต

ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD
ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD

ไฟรั่วเกิดขึ้นได้อย่างไร

ไฟรั่วนั่นเกิดขึ้นได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความผิดปรกติ ในการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไป หรือไปลงที่ตัวโครงที่เป็นตัวนำไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง
ตัวนำไฟฟ้า  ได้แก่ โลหะ เหล็ก สแตนเลส ทองแดง ทองเหลือง ต่างๆ

ทำไมไฟจึงดูด

ไฟดูดเราได้ หรือกระแสไฟฟ้าวิ่งไหลเข้าสู่ร่างกายเราได้เนื่องจากว่า  ตัวเราไปสัมผัสโดนกับสิ่งที่เป็นตัวนำไฟฟ้า   ซึ่ง ณ ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงตัวโครงของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ทำให้เราได้รับกระแสไฟฟ้าไปด้วย   ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายอย่างมาก

เรามีวิธีป้องกันไฟดูด ไฟรั่วอย่างไรได้บ้าง

1.ติดตั้งสายดิน

การติดตั้งสายดินที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า  จะใช้ให้ไฟฟ้าไม่ดูดเรา เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะไหลลงสู่สายกราวนด์ หรือสายดินไปทั้งหมดนั่นเอง ตัวกำหนดค่าภาษาอังกฤษของสายดินคือ  G

 

2.ใช้ปลั๊กกันไฟดูด หรือเบรกเกอร์กันไฟดูด  PRCD  RCD  RCBO

ปลั๊กกันดูด หรือ PRCD plug ช่วยป้องกันเวลาที่ถูกไฟดูด เพียง ชั่วเสี้ยววินาที  ปลั๊กจะทำการตัดกระแสไฟฟ้า ทันที   ตัวผุ้ใช้จะปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย  ซึ่งเหมาะแก่การใช้งานในทุกประเภท ทุกที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีราคาถูก แข็งแรง และใช้งานได้อย่างมั่นใจ

กระแสไฟไหลสู่ร่างกายเป็นอันตราย
กระแสไฟไหลสู่ร่างกายเป็นอันตราย

เครดิตภาพ P.M.K. GROUP and ABB 

จะเห็นได้ว่าจากในรูปได้บอกไว้ว่า ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกายคนไม่เกิน 30 มิลลิแอมป์นั้นเป็นค่าที่ยอมรับได้ แต่ถ้าไหลเกินไปถึง 500 มิลลิแอมป์เมื่อไหร่ นั้นคือ เรดโซนแล้วครับร่างกายไม่สามารถรับได้ ถึงขั้นหมดสติได้ทันที

 

วงจรการทำงานของปลั๊กกันดูดหรือ PRCD
วงจรการทำงานของปลั๊กกันดูดหรือ PRCD

วิธีการทำงานของปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่วของ FLOW

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากตัวปลั๊กกันดูดที่เราเสียบไว้กับเต้าแล้ววิ่งผ่านโหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ถ้ากระแสไฟฟ้าไม่ไหลกลับมาครบวงจร ขาดไปเพียง 0.3 มิลลิแอมป์เท่านั้น ปลั๊กกันดูด จะตัดการทำงานทันทีด้วยแผงวงจรอัตโนมัติ ในเวลาเพียง 0.1 วินาทีเท่านั้น  ซึ่งทำให้คุณปลอดภัยแน่นอน

คำถามที่ว่ากระแสไฟทำไมไหลกลับไปไม่ครบวงจรล่ะ ก็คือไหลเข้าไปที่ตัวผู้ใช้แล้วไงล่ะครับ  หรือที่เค้าเรียกว่ากันว่าไฟรั่ว ไฟดูดนั่นเอง

บทความต่อไปนี้ เป็นบทความในโพส Facebook ของ Kookai tools ซึ่งจะช่วยทำให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปลั๊กกันดูด หรือ ปลั๊ก PRCD ได้ดีมากยิ่งขึ้น

 

PRCD “ปลั๊กกันไฟดูด”

จริงๆ ไม่กันไฟช๊อต ไม่กันไฟดูด แต่กันตาย

-มีข่าวให้เห็นประจำว่า คนล้างรถ ใช้เครื่องมือช่าง ซักผ้า แล้วไฟดูดตาย
-ส่วนมากก็จะพูดกันว่า ก็ใช้มาทุกวัน/ทำแบบนี้ทุกครั้งไม่เห็นเป็นไร แต่วันนี้มัน ซวย/พลาด ก็เลยตาย

-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขาก็มีกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานของวัสดุและวิธีการติดตั้งเอาไว้เพื่อลดความเสี่ยง
-แต่ ถามตัวเองหรือคนใกล้ตัวครับว่าบ้านได้เดินไฟตาม วสท มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าไหม?
-ตอนสร้างเสร็จ/จะซื้อ แล้วมีการตรวจสอบโดยวิศวกรไหม
เวลาต่อเติม ได้ทำโดยช่างมืออาชีพที่รู้มาตรฐาน แล้วมีการตรวจโดยบุคคลอื่นไหม
-ระบบใช้มานานหลายปี มีการตรวจสอบ-ทดสอบสภาพอุปกรณ์บ้างหรือยัง?
-มั่นใจหรือยืนยันได้ไหมว่าระบบไฟที่ใช้นั้น สภาพสมบูรณ์ ถูกต้อง ปลอดภัยจริงหรือเปล่า?
-แค่ปัจจัยหนึ่งที่บกพร่อง อาจทำให้เสียชีวิตได้

ไม่มีอุปกรณ์ตัดไฟในวงจร(ลัดวงจร รั่ว โอเวอร์โหลด) – ฉนวนสายเปื่อย – เทปพันสายหลุด
ไวร์นัทคลาย – น๊อตสายดินหลวม – แท่งกราวด์ขึ้นสนิม – ความต้านทานกราวด์สูง
ไม่ได้เชื่อมNกับG ที่ตู้ – น๊อตบัสบาร์คลาย – ออกไซด์ขึ้นปลายสายเปลือย – คุณภาพและจำนวนรอบการทำงานของเบรคเกอร์เสื่อม

-วิธีการที่ถูกต้องปลอดภัยที่สุดก็คือเรียกวิศวกรมาตรวจสอบและแก้ไขทั้งหมดให้ได้ตามมาตรฐาน
-แต่เข้าใจได้ว่านั่นเป็นการดำเนินการที่ใช้เงินเยอะ และยุ่งยาก
-บางคนอยู่ในที่เช่า หรือ ออกไปทำงานนอกสถานที่/บ้านลูกค้า ไม่สามารถรู้ถึงสภาพของระบบไฟที่นั่น และไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
-งั้นก็มาแก้ปัญหาที่ปลายทางครับ ทำสิ่งที่เราทำได้ ลดความเสี่ยง-เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิต

-ในภาพข้างต้นบทความนี้คืออุปกรณ์ที่เรียกว่า PRCD (หรือที่เรียกกันว่าปลั๊กกันไฟดูด)
-มันคืออุปกรณ์ตัดไฟเวลามีไฟรั่ว ไฟดูด
-ย้ำอีกทีนะครับ — PRCD ไม่ได้กันไฟช๊อต — PRCD ไม่ได้ป้องกันไฟรั่ว
-PRCD ทำงานโดยการ “ตัด” ไฟ เมื่อมีการรั่ว ที่กระแสที่ต่ำในเวลาที่รวดเร็ว
-แล้วถ้าไฟรั่วผ่านตัวคน (ไฟดูด) = มันจะไม่ทำให้ถึงตาย (รักษาชีวิต)
-ไม่ถึงชีวิตเพราะ PRCD ตัดไฟที่ต่ำกว่าปริมาณกระแสที่ทำให้อาการหนัก และตัดไฟเร็วจนไม่เกิดความเสียหายถาวรหรือถึงชีวิต
-“ตัดไฟเมื่อรั่ว ป้องกันตาย”

ทำไมต้อง PRCD
-อุปกรณ์ตัดไฟนั้นมีหลากหลายมาก มีหลายวิธีการติดตั้งและหลายเงื่อนไขการทำงาน
(RCD RCCB RCBO ELCB คล้ายๆ กัน แต่แต่ละอุปกรณ์จะรองรับแค่ไม่กี่เงื่อนไขเฉพาะเท่านั้น)
-แต่ PRCD นับว่า “ป้องกันปัญหาปลายทางที่สุด ในเงื่อนไขที่ต่ำที่สุด”
สมมติว่าปลั๊กไฟของเราอยู่ในสภาพที่แย่ที่สุด แย่มากๆ – ไม่มีระบบป้องกันอะไรเลย
-ไม่มี RCBO – ไม่มีสายดิน – L N ต่อสลับ
-เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มีสายดินในตัว(หรือหักขาปลั๊ก) – มีไฟรั่วหน่อยๆ
แล้วตัวคนอยู่ในเงื่อนไขที่แย่ที่สุด – ตัวเปียก เท้าเปียก เท้าเปล่า – ตัวมีแผล – เป็นเด็กเป็นผู้หญิง
ในเงื่อนไขแย่ๆ เหล่านี้ PRCD ก็ยังทำงานได้

ทำงานอย่างไร?
-มันเป็นปลั๊กพ่วง – เราเอา PRCD เสียบเต้ากำแพง แล้วเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบต่อPRCD
-PRCD คอยเทียบค่ากระแสไฟที่ไหลผ่านสายสองเส้น ถ้าหากว่าไฟเข้าเท่ากับไฟออก = ไม่รั่ว = สถานการณ์ปกติ
-แต่ถ้าเกิดเหต – ภายใต้เงื่อนไขที่แย่ที่สุดคือปลั๊กไม่มีสายดิน แล้วไฟฟ้าดูดไหลผ่านคน = คนเป็นสายดิน
(เช่นเวลาเราล้างรถตัวเปียก อาบน้ำ ซักผ้า ใช้เครื่องตัดหญ้า)
PRCD จะเห็นว่าไฟเข้าไม่เท่าไฟออก (มีส่วนหนึ่งที่รั่วไปทางตัวคนไปลงดินหรือไปที่อื่น)
ตามเงื่อนไขนี้ PRCD จะตัดไฟ = รักษาชีวิตคน
**** ตัดไฟแล้วไม่ตาย ไม่ได้แปลว่าไม่เจ็บนะครับ
ยังไงการที่เอาตัวคนมาเป็นทางผ่านไฟฟ้า = ได้รับความเสียหายจากไฟฟ้า อาจจะมีกล้ามเนื้อหดเกร็ง หน้าอกบีบ ใจสั่น
อาการเหมือนโดนถีบ หรือรถชนแล้วหน้าอกชนพวงมาลัย “แต่ไม่ตาย”

-ไม่ได้แปลว่า PRCD จะทำงานสำเร็จ 100%นะครับ มันมีเงื่อนไขที่จะทำให้ไม่ทำงานอยู่
-ถ้าหากว่าปลั๊กไม่มีสายดิน ที่แผงควบคุมไม่มีเบรคเกอร์กันดูดRCBO แล้วคนแทรกกลางระหว่างวงจรโดยไม่แตะพื้นเลย
PRCD มองไม่เห็นความผิดปกติ = ไม่ตัด = ไฟดูดต่อเนื่อง อาจตายถ้ากระแสสูงหรือว่านาน
PRCD เป็นแค่ตัวหนึ่งในตระกูลอุปกรณ์ป้องกันปัญหาไฟรั่ว และเป็นตัวที่ทำงานเมื่ออยู่ปลายสุด
-“ไม่ควรมีแค่ตัวเดียว” ควรใช้ระบบความปลอดภัยให้เต็มที่ ตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า
ใช้ประเภทสายที่ถูก ขนาดที่ถูกต้อง มีตัวตัดไฟที่กันไฟช๊อต กันไฟรั่ว ไฟดูด และมีสายดินที่พ่วงถูกต้อง

-อย่าซื้อของที่ไม่ได้มาตรฐาน – นี่เป็นเชือกช่วยชีวิตเส้นสุดท้าย เอาให้มันดี
-ของผลิตจีนส่วนมากไม่มีการตีตรา ไม่มีคุณสมบัติสินค้าบอกด้วยซ้ำว่าตัดที่กระแสเท่าไหร่ ความเร็วตัดเท่าไหร่ กระแสรั่วไหล่ปกติเท่าไหร่ กระแสใช้งานสูงสุดเท่าไหร่
-ประมาณ 2 ปีก่อนผมเคยซื้อเหมาจากจีนมา 20 กว่าชิ้นเพื่อที่จะเอามาต่อตรงใส่เครื่องมือมีสาย
-ทดสอบการทำงานโดยการเอา potentiometer เข้าไปแตะ(จำลองความต้านทานผิวคนว่าคนเป็นสื่อไฟรั่วไปแตะ)
20 ตัว ตัดการทำงานไม่เท่ากันสักตัว และมีหลายตัวที่ ตัดไกลกว่าค่าที่ปลอดภัย = อาจเจ็บหนักหรือตาย
เลือกซื้อให้มันมีมาตรฐาน ของไทยมียี่ห้อที่ทำดีแล้ว ราคาไม่แพง ซื้อไปเถอะ

-การใช้งานและค่าที่ควรคำนึงถึง
-ที่เราต้องการใช้สำหรับในบ้าน คือแรงดัน 220v ระบบไฟ 1ph กระแสตัด 30ma ตัดเร็วกว่า 0.5 วินาที
-ก่อนใช้งาน ให้กด Test/reset ก่อนทุกครั้ง ดูว่าระบบตัดไฟยังทำงานปกติไหม
-ถ้าหากว่า PRCD ตัด/เด้ง ให้หยุดทุกอย่าง ตรวจสอบทางเดินไฟ มันต้องมีอะไรผิดปกติ ต้องแก้ไข
-ตัว PRCD เองมันเป็น “ปลั๊กพ่วง” เพราะงั้นมันจะมีความสามารถในการรับกระแสทำงานได้จำกัด
บนตัวอุปกรณ์จะมีบอกไว้ เช่นตัวในภาพรับกระแสได้ 16ampere ก็ถือว่าใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า 1เฟส ได้เกือบทุกอย่างยกเว้นมอเตอร์ใหญ่ๆ
-สินค้าบางตัวรับกระแสได้แค่ 8amp 10amp ซึ่งอาจไม่พอต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟสูง มอเตอร์ปั๊มน้ำแรงดันสูง เครื่องซักผ้า เครื่องตัดหญ้ารถเข็น พัดลมสนาม

บทความนี้เขียนเพื่อให้ท่านตระหนักถึงความปลอดภัย และให้รับรู้ทางออก/ทางป้องกันที่เป็นเบื้องต่ำที่สุด
สิ่งที่ถูกต้องคือการให้คนที่มีความรู้และอุปกรณ์ที่ถูกต้องมาตรวจสอบ แล้วแก้ไขหรือวางมาตรการป้องกัน (แต่มันแพง)
PRCD ที่มีมาตรฐานมันแค่อันละ 600-700 บาทก็ซื้อได้แล้ว
PRCD นั้นไม่ได้ปกป้อง 100% แต่มันเป็นตัวแปรหนึ่งอาจจะทำให้รอดชีวิตหรือพ้นจากความพิการได้
เหมือนเราซื้อประกันชีวิต ประกันรถ ซื้อถังดับเพลิงติดบ้านติดรถ ซื้อที่ทุบกระจก
คือเราไม่หวังใช้หรอก แต่ถ้าหากว่ามันจะซวยจำเป็นต้องได้ใช้ก็ขอให้มี ดีกว่าจะใช้แล้วไม่มี

คติของความปลอดภัย – อย่าเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงตั้งแต่แรก – ลดปัจจัยเสี่ยง – ป้องกันการเกิดเหต – มาตรการลดความเสียหาย
ความปลอดภัยและชีวิตของเรา คือความรับผิดชอบของตัวเราเอง
แต่ถ้าเราตายหรือพิการ จะกลายเป็นภาระของคนใกล้ตัวทันที
อย่าคิดว่าตัวเองจะโชคดีเหมือนในวิดีโอนี้
(อันนี้คือสถานการณ์จำเพาะมากๆ โชคดีมากๆ ที่ล้มไปหาปลั๊กและกระแสไม่แรงพอยังควบคุมกล้ามเนื้อและสติได้)
https://www.youtube.com/watch?v=sJLRAev3qPI

 

ดูแลชีวิตตัวเอง ตรวจสอบ รอบคอบครับ

————————————————————————–
เชิญเข้าร่วมกลุ่ม อุบัติเหตจากเครื่องมือและงานช่าง
จะมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย ทั้งในการทำงาน และในชีวิตประจำวันให้อ่าน รู้ไว้ดีกว่าไม่รู้ครับ
ลิงค์กลุ่ม https://www.facebook.com/groups/313619413769015

 

ฝากคุณผู้อ่านกดติดตาม FB ของ kookaitools และกลุ่ม ความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยนะครับ เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวผู้อ่านและผู้คนรอบข้างที่ท่านรัก 

 

เราลองมาดูกันว่า ปลั๊กกันดูด ของ FLOW ตัดไฟได้รวดเร็วแค่ไหน ทำให้ ท่านมั่นใจได้ว่า  ถ้าใช้ปลั๊กนี้ จะได้รับความปลอดภัยจากไฟดูด หรือไฟรั่วอย่างแน่นอนครับ   รวดเร็วตัดทันทีเพียง 0.1 วินาที

คลิ๊กที่นี่ ดูวีดีโอ คลิป ปลั๊กกันไฟดูด  

ปลั๊กกันดูด ไฟรั่ว PRCD สำหรับเครื่องฉีดน้ำ