ปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่ว PRCD RCD หรือ RCBO

ปลั๊กพ่วงต่อกันไฟดูด ที่จะช่วยให้คุณปลอดภัย ไม่มีอันตรายบาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต

ปลั๊กตัดไฟโดยไม่มีกราวด์
ปลั๊กตัดไฟโดยไม่มีสายดิน
หลายๆครั้งมาแล้วที่เราเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงไฟรั่ว ดูดผู้ใช้บาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต แต่พอวันเวลาผ่านไปเราก็มักจะหลงลืม ความอันตรายถึงแก่ชีวิตเหล่านี้จนหมดสิ้น จนลืมไปว่าอันตรายอยู่รอบตัวเราเต็มไปหมด ไม่ใช่แค่ตัวเราเพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมถึงครอบครัวของเรา เพื่อนฝูงหรือคนในบ้านที่เรารักด้วย ทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านานๆ ไปย่อมมีการเสื่อมสภาพของเครื่องไปตามกาลเวลาเป็นธรรมดา อาจจะเกิดจากได้หลายสาเหตุ เช่น ฉนวนเกิดค่าความเสื่อมที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้แต่การกระแทกเครื่องใช้ไฟฟ้า การลัดวงจรของเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง หรือการลัดวงจรภายในบ้าน เป็นไปได้หมด เราจึงไม่ควรชะล่าใจหรือวางใจเด็ดขาดเนื่องจากอันตรายสูงสุด คือถึงขั้นเสียชีวิตได้ในทันที
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ย่อมมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกมาจากตัวอุปกรณ์และไหลสู่ร่างกายของมนุษย์ได้เสมอ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายกับร่างการยได้บ้างครั้งถึงขั้นเสียชีวิตกันเลยทีเดียว เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจ และมีวิธีการป้องกันไม่ให้เรามีอันตรายถึงชีวิต

ไฟรั่วเกิดขึ้นได้อย่างไร
ไฟรั่วนั่นเกิดขึ้นได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความผิดปรกติ ในการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไป หรือไปลงที่ตัวโครงที่เป็นตัวนำไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง
ตัวนำไฟฟ้า ได้แก่ โลหะ เหล็ก สแตนเลส ทองแดง ทองเหลือง ต่างๆ
ทำไมไฟจึงดูด
ไฟดูดเราได้ หรือกระแสไฟฟ้าวิ่งไหลเข้าสู่ร่างกายเราได้เนื่องจากว่า ตัวเราไปสัมผัสโดนกับสิ่งที่เป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่ง ณ ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงตัวโครงของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ทำให้เราได้รับกระแสไฟฟ้าไปด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายอย่างมาก
เรามีวิธีป้องกันไฟดูด ไฟรั่วอย่างไรได้บ้าง
1.ติดตั้งสายดิน
การติดตั้งสายดินที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า จะใช้ให้ไฟฟ้าไม่ดูดเรา เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะไหลลงสู่สายกราวนด์ หรือสายดินไปทั้งหมดนั่นเอง ตัวกำหนดค่าภาษาอังกฤษของสายดินคือ G
2.ใช้ปลั๊กกันไฟดูด หรือเบรกเกอร์กันไฟดูด PRCD RCD RCBO
ปลั๊กกันดูด หรือ PRCD plug ช่วยป้องกันเวลาที่ถูกไฟดูด เพียง ชั่วเสี้ยววินาที ปลั๊กจะทำการตัดกระแสไฟฟ้า ทันที ตัวผุ้ใช้จะปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย ซึ่งเหมาะแก่การใช้งานในทุกประเภท ทุกที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีราคาถูก แข็งแรง และใช้งานได้อย่างมั่นใจ

เครดิตภาพ P.M.K. GROUP and ABB
จะเห็นได้ว่าจากในรูปได้บอกไว้ว่า ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกายคนไม่เกิน 30 มิลลิแอมป์นั้นเป็นค่าที่ยอมรับได้ แต่ถ้าไหลเกินไปถึง 500 มิลลิแอมป์เมื่อไหร่ นั้นคือ เรดโซนแล้วครับร่างกายไม่สามารถรับได้ ถึงขั้นหมดสติได้ทันที

วิธีการทำงานของปลั๊กกันไฟดูด ไฟรั่วของ FLOW
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากตัวปลั๊กกันดูดที่เราเสียบไว้กับเต้าแล้ววิ่งผ่านโหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ถ้ากระแสไฟฟ้าไม่ไหลกลับมาครบวงจร ขาดไปเพียง 0.3 มิลลิแอมป์เท่านั้น ปลั๊กกันดูด จะตัดการทำงานทันทีด้วยแผงวงจรอัตโนมัติ ในเวลาเพียง 0.1 วินาทีเท่านั้น ซึ่งทำให้คุณปลอดภัยแน่นอน
คำถามที่ว่ากระแสไฟทำไมไหลกลับไปไม่ครบวงจรล่ะ ก็คือไหลเข้าไปที่ตัวผู้ใช้แล้วไงล่ะครับ หรือที่เค้าเรียกว่ากันว่าไฟรั่ว ไฟดูดนั่นเอง
บทความต่อไปนี้ เป็นบทความในโพส Facebook ของ Kookai tools ซึ่งจะช่วยทำให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปลั๊กกันดูด หรือ ปลั๊ก PRCD ได้ดีมากยิ่งขึ้น
PRCD “ปลั๊กกันไฟดูด”
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า PRCD (ปลั๊กกันไฟดูด) เป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันไฟช็อตหรือไฟรั่ว แต่จริงๆ แล้วมันทำหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายถึงชีวิตจากไฟฟ้า โดยการตัดไฟเมื่อมีการรั่วไหลที่กระแสต่ำในเวลารวดเร็ว
ทำไมต้องใช้ PRCD?
เหตุการณ์ไฟดูดที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นสิ่งที่เราเห็นได้บ่อย บางคนอาจคิดว่า “ใช้มาตลอดไม่เคยเป็นอะไร” แต่วันหนึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ซึ่งทำให้คนๆ นั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น PRCD จะช่วยตัดไฟในกรณีที่มีการรั่วไหลไปที่ตัวบุคคล โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เงื่อนไขไม่เอื้ออำนวย เช่น ตัวเปียก เท้าเปียก หรือการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีสายดิน
PRCD คืออะไร?
PRCD เป็นปลั๊กพ่วงที่มีหน้าที่ตรวจจับความไม่สมดุลของกระแสไฟฟ้า เมื่อไฟเข้าและออกจากปลั๊กพ่วงเท่ากัน หมายความว่าไม่มีไฟรั่ว แต่หากมีไฟรั่วที่ไหลผ่านตัวคน (เช่น ขณะล้างรถหรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าผิดวิธี) PRCD จะตัดไฟทันทีเพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิต
วิธีการทำงานของ PRCD
- เสียบ PRCD ที่เต้ารับ แล้วเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ากับ PRCD
- PRCD จะตรวจสอบกระแสไฟที่ไหลผ่าน หากกระแสไฟเข้าและออกเท่ากัน จะไม่มีไฟรั่ว และทุกอย่างจะเป็นปกติ
- หากไฟรั่วเกิดขึ้น (เช่น ไฟไหลผ่านตัวคน) PRCD จะตรวจจับและตัดไฟทันที เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
PRCD ไม่ได้ป้องกัน 100%
PRCD ไม่สามารถป้องกันได้ 100% ในทุกสถานการณ์ เช่น หากไม่มีการต่อสายดิน หรือหากไม่มีเบรกเกอร์ที่ถูกต้อง PRCD อาจไม่สามารถตัดไฟได้ทันที ดังนั้น PRCD ควรเป็นเพียงหนึ่งในมาตรการป้องกัน และควรใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน เช่น เบรกเกอร์ RCD, สายดิน และอุปกรณ์ตัดไฟอื่นๆ
ทำไม PRCD ถึงสำคัญ?
แม้ PRCD จะไม่ได้ป้องกันไฟฟ้าในทุกกรณี แต่มันสามารถทำหน้าที่เป็น “เส้นชีวิต” ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในกรณีที่ไฟรั่วไปยังตัวบุคคล เช่น ตอนล้างรถ ใช้เครื่องมือไฟฟ้าในสภาพที่มือหรือเท้าเปียก
คำแนะนำในการใช้ PRCD
- ก่อนใช้งาน: กดปุ่ม Test/Reset เพื่อตรวจสอบว่า PRCD ทำงานได้ปกติ
- หาก PRCD ตัดไฟ: หยุดการใช้งานทันที และตรวจสอบระบบไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุ
- เลือกซื้อ PRCD ที่มีมาตรฐาน: ควรเลือกสินค้าที่มีการรับรองมาตรฐานและสเปคที่ถูกต้อง เช่น รับกระแสไฟฟ้าที่ 16A และสามารถตัดไฟได้ในเวลาไม่เกิน 0.5 วินาที
สรุป
PRCD เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกไฟดูดในกรณีที่ไฟรั่ว โดยการตัดไฟทันทีเพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิต แม้มันจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ก็เป็นมาตรการที่สำคัญในกระบวนการป้องกันความปลอดภัยจากไฟฟ้า
แม้ว่าการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่การใช้ PRCD ก็สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ไม่ควรละเลยเรื่องความปลอดภัย และอย่ารอให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก่อนที่จะตระหนักถึงความสำคัญของมัน
https://www.youtube.com/watch?v=sJLRAev3qPI
ดูแลชีวิตตัวเอง ตรวจสอบ รอบคอบครับ
————————————————————————–
เชิญเข้าร่วมกลุ่ม อุบัติเหตจากเครื่องมือและงานช่าง
จะมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย ทั้งในการทำงาน และในชีวิตประจำวันให้อ่าน รู้ไว้ดีกว่าไม่รู้ครับ
ลิงค์กลุ่ม https://www.facebook.com/groups/313619413769015
ฝากคุณผู้อ่านกดติดตาม FB ของ kookaitools และกลุ่ม ความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยนะครับ เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวผู้อ่านและผู้คนรอบข้างที่ท่านรัก
เราลองมาดูกันว่า ปลั๊กกันดูด ของ FLOW ตัดไฟได้รวดเร็วแค่ไหน ทำให้ ท่านมั่นใจได้ว่า ถ้าใช้ปลั๊กนี้ จะได้รับความปลอดภัยจากไฟดูด หรือไฟรั่วอย่างแน่นอนครับ รวดเร็วตัดทันทีเพียง 0.1 วินาที
คลิ๊กที่นี่ ดูวีดีโอ คลิป ปลั๊กกันไฟดูด